การจัดการข้อมูลด้วย PHP จากฟอร์ม

กระบวนการวิธีการที่สำคัญในการสร้างเว็ปไซต์

เว็ปแอพลิเคชั่น คือการนำข้อมูล input ต่างๆ ที่ถูกส่งจากเบราเซอร์มาประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ต้องมีส่วนในการกำหนดขอ้มูลที่ user จะส่งเข้ามา และเราจะเก็บค่าเข้าไป โดยสิ่งที่เราใช้เก็บข้อมูล input จากฝั่ง user เราใช้สิ่งที่เรียกว่า form นั่นเอง

ตัวฟอร์มนั้นมีลักษณะการกรอกข้อมูลและองค์ประกอบหลายๆอย่างมากที่จะใช้รับข้อมูล และส่งต่อไปประมวลผลด้วย PHP ที่ฝั่งเซอร์เวอร์ โดยรายละเอียดและขนิดของ input มีมากมาย ดังนี้

text เป็นช่องว่างสำหรับกรอกข้อมูลที่เป็นข้อความบรรทัดเดียวเข้าไป code:  <input type =”text”>

textarea เป็นช่องรับข้อความแบบหลายๆบรรทัด code: <textarea></textarea>

checkbox เป็นช่องสำหรับติ๊กเลือก หรือไม่เลือกในรายการที่ระบุ โดยมีรูปแบบ code : <input type=”checkbox”>

radio เป็นช่องสำหรัรบเลือกรายการเหมือน checkbox แต่ว่าเลือกได้เพียงรายการเดียวจากกลุ่มรายการที่ให้เลือก และเป็นปุ่มวงกลม code: <input type=”radio”>

select ใช้สำหรับสร้างรายการให้เลือก โดยกำหนดได้ 2 แบบ คือทั้งเลือกแบบได้แค่รายการเดียวจากกลุ่มรายการทั้งหมด หรือเลือกได้หลายรายการจากกลุ่มรายการทั้งหมด code: <select><option>…</option></select>

submit ปุ่มสำหรับกดเพื่อส่งข้อมูลออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดย code: <input type=”submit”>

reset เป็นปุ่มสำหรับกดเพื่อยกเลิกข้อมูลที่ใส่ลงไปในฟอร์ม โดยจะรีเซตค่าในฟอร์มให้โดยอัตโนมัติ

<input type=”reset”>

button  ปุ่มสำหรับกดเช่นเดีวกับ submit และ reset แต่ button จะเป็นปุ่มว่าง ให้เราเขียนคำสั่งเข้าไปควบคุมการทำงานต่างๆได้เองตามต้องการ ด้วย Javascript code: <input type=”button”>

นอกจาก input ต่างๆ ตามลิสต์ที่ได้กล่าวแนะนำมาแล้วข้างต้นนั้น ยังมี input อื่นๆอีก เช่น password (สำหรับรับข้อมูลที่เป็นรหัสผ่าน) หรือ Hidden สำหรับการเก็บซ่อนข้อมูล ซึ่งจะไม่มีรูปร่าง input ปรากฎมาให้เห็นแต่อย่างใด โดย input เพิ่มเติมทั้งสองแบบที่ได้แนะนำไปนั้น จะคล้ายๆกับ text อ้อมีอีกหนึ่ง input ที่ยังไม่ได้แนะนำไป นั่นคือ file ที่การใช้งานคือเอาไว้อัปโหลดไฟล์เอาไว้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามในส่วนของ input เช่น text นั้นก็ยังมี option อื่นๆเพิ่มเติมได้อีกด้วยเช่น Maxlength ที่ใช้กำหนดความยาวสูงสุดของข้อความได้เป็นต้น